วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันแห่งความรักสำหรับทุกๆคนที่มีความรัก

มาฆบูชา

มาฆบูชา
         มาฆบูชา เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า เป็นวันเกิดพระธรรม ถือว่าเป็นวันที่ พระพุทธเจ้า ได้ประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้น นำไปเผยแผ่

           วั น"มาฆบูชา" เป็นวันบูชาพิเศษที่ต้องทำในวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือในวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
( ซึ่งโดยปกติทำกันในกลางเดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ เดือนแปดสองแปด ก็เลื่อนไปกลางเดือน ๔ )
ถือกันว่าเป็นวันสำคัญ เพราะวันนี้ เป็นวันคล้ายกับ วันประชุมกันเป็นพิเศษ แห่งพระอรหันตสาวก โดยมิได้มีการนัดหมาย ซึ่งเรียกว่า วันจาตุรงคสันนิบาต ซึ่งได้มีขึ้น ณ บริเวณเวฬุวันมหาวิหาร หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นเวลานับได้ ๙ เดือน            วันนี้เอง ที่พระพุทธองค์แสดง "โอวาทปาฎิโมกข์" ซึ่งถือกันว่า เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
 
จาตุรงคสันนิบาต คือ การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ คือ ๑. วันนั้น เป็นวันมาฆปูรณมี คือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือนมาฆะ จึงเรียกว่า มาฆบูชา
๒. พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย (สาเหตุของการชุมนุม)
๓. พระภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ ประเภทฉฬภิญญา คือ ได้อภิญญา ๖
๔. พระภิกษุ เหล่านั้น ทั้งหมด ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง (เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา)
 โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึง จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ของพระพุทธศาสนาไว้อย่างครบถ้วน
๑. จุดหมายของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน (นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา)

๒. หลักการของพระพุทธศาสนา คือ ต้องมีความอดทน ในการฝึกตนเอง เพื่อบรรลุจุดหมาย (ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา) ต้องประกอบด้วย
     ก. ไม่ทำความชั่วโดยประการทั้งปวง ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ (สพฺพปาปสฺส อรกณํ)
     ข. ทำความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ (กุสลสฺสูปสมฺปทา) การไม่ทำความชั่วนั้น จะเรียกว่า เป็นคนดียังไม่ได้ การเป็นคนดี จะต้องทำความดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ มิฉะนั้นแล้ว คนปัญญาอ่อน คนเป็นอัมพาต เป็นต้น ก็จะเป็นคนดีไปหมด
     ค. การชำระจิตใจให้สะอาด ผ่องใส สงบ (สจิตฺตปริโยทปนํ)

๓. วิธีการที่จะบรรลุจุดหมาย คือ ต้องฝึกอบรมตนแบบต่อเนื่อง ให้เกิดมรรคสามัคคี คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ** รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๘ เกลียว หรือให้มี ศีล สมาธิ และปัญญา รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๓ เกลียว พัฒนากาย วาจา ใจ ให้พูดดี ทำดี คิดดี ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ราคะ โมสะ โมหะ ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส ตัณหา หรือความใคร่ ความอยากมี อยากเป็น แบบมืดบอด ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ที่มันเป็นไปไม่ได้ เช่น ไม่อยากเป็นคนเสื่อมลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุข เป็นต้น โดยอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้.

     ก. ฝึกวาจา ระวังเสมอ มิให้กล่าวคำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ (อนูปวาโท)
     ข. ฝึกกาย ระวังเสมอมิให้มีการฆ่า ทำลายชีวิต ตลอดจนถึงการเบียดเบียนทางกาย (อนูปฆาโต)
     ค. ละเว้นข้อที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสห้ามไว้ และทำตามข้อที่พระพุทธองค์อนุญาต (ปาฎิโมกฺเข จ สํวโร)
     ง. รู้จักประมาณในการบริโภค อาหาร ตลอดจน รู้จักประมาณในการใช้สอยปัจจัย ๔ (มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺสมึ)
     จ. ฝึกตนอย่างจริงจัง ในที่ที่สงัดจากสิ่งรบกวน (ปนฺตนฺ จ สยนาสนํ)
     ฉ. ภาวนาอยู่เสมอ คือ พัฒนาตนเองให้พ้นจากอำนาจของกิเลสตัณหา การภาวนา หมายถึง การใช้ทั้งสมาธิ และวิปัสสนา แก้ปัญหา หรือจัดการกับกิเลส (อธิจิตฺเต จ อาโยโค) เป็นการตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ มิให้จิตใจเศร้าหมอง ให้จิตใจผ่องใสอยู่เสมอ (สจิตฺตปริโยทปนํ)

          จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศไว้จะเป็นไปด้วยดี และบรรลุวัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายไว้นั้น พระองค์ได้ย้ำเตือนไว้ว่า จะต้องปฏิบัติตนให้เป็นอย่างบรรพชิต และเป็นอย่างสมณะ คือ เว้นจากความชั่วทุกประการ และเป็นผู้ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่าง เพื่อระงับบาปอกุศล ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นอริยบุคคล ทั้งไม่เบียดเบียนและไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่คนที่ประพฤติดี ปฏิบัติชอบทั้งหลาย (น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต)
 หมายเหตุ
สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะความดำริชอบ
สัมมาวาจาการพูดจาชอบ
สัมมากัมมันตะการทำงานชอบ
สัมมาอาชีวะการเลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายามะความพากเพียรชอบ
สัมมาสติความระลึกชอบ
สัมมาสมาธิความตั้งใจมั่นชอบ
  
อภิญญา ๖
อภิญญา คือความรู้อันยอดยิ่งมี ๖ ประการได้แก่
๑.แสดงฤทธิ์ได้ (อิทธิวิธิ)
๒.หูทิพย์ (ทิพยโสต)
๓.รู้จักกำหนดใจผู้อื่น (เจโตปริยญาณ)
๔.ระลึกชาติได้ (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ)
๕.ตาทิพย์ (ทิพยจักษุ)
๖.ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป-คือญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวักขยญาณ)
 
สาเหตุของการชุมนุมคงเนื่องมาจากภิกษุเหล่านั้นล้วนเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนและในวันเพ็ญเดือนมาฆะ
เป็นวันที่ทางศาสนาพราณ์ได้ประกอบพิธีศิวาราตรี คือ การลอยบาปในแม่น้ำคงคา และประกอบพิธีสักการบูชาพระเป็นเจ้าในเทวสถาน เมื่อถึงวันนั้น พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าซึ่งเคยประกอบพิธีดังกล่าวจึงต่างพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

เพลงหน้าที่เด็กดี....สำหรับเด็กดีๆ

http://club.myfri3nd.com/music-is-life/webboard/7048/45551

วันเด็กแห่งชาติ (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันเด็กแห่งชาติ เป็นวันสำคัญในประเทศไทยตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่มิได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป (วันจันทร์) มีการให้ คำขวัญวันเด็ก ทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติ

งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น มาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นทุกปีในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมจนถึง พ.ศ. 2506 และใน พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2508 โดยเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงหมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ จนถึงทุกวันนี้

[แก้] คำ ขวัญวันเด็ก

คำขวัญวันเด็ก เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายก รัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ปี↓ นายกรัฐมนตรี↓ คำขวัญ↓
พ.ศ. 2499 จอมพล ป. พิบูลสงคราม จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม
พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
พ.ศ. 2503 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
พ.ศ. 2504 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
พ.ศ. 2505 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
พ.ศ. 2506 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
พ.ศ. 2507 จอมพล ถนอม กิตติขจร ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
พ.ศ. 2508 จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
พ.ศ. 2509 จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
พ.ศ. 2510 จอมพล ถนอม กิตติขจร อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
พ.ศ. 2511 จอมพล ถนอม กิตติขจร ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
พ.ศ. 2512 จอมพล ถนอม กิตติขจร รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
พ.ศ. 2513 จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
พ.ศ. 2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
พ.ศ. 2515 จอมพล ถนอม กิตติขจร เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
พ.ศ. 2516 จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ. 2517 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ สามัคคีคือพลัง
พ.ศ. 2518 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
พ.ศ. 2519 หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
พ.ศ. 2520 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
พ.ศ. 2521 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง
พ.ศ. 2522 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
พ.ศ. 2523 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2524 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
พ.ศ. 2525 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2526 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
พ.ศ. 2527 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
พ.ศ. 2528 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
พ.ศ. 2529 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2530 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2531 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2532 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2533 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2534 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
พ.ศ. 2535 นายอานันท์ ปันยารชุน สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
พ.ศ. 2536 นายชวน หลีกภัย ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2537 นายชวน หลีกภัย ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2538 นายชวน หลีกภัย สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2539 นายบรรหาร ศิลปอาชา มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
พ.ศ. 2540 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
พ.ศ. 2541 นายชวน หลีกภัย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2542 นายชวน หลีกภัย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2543 นายชวน หลีกภัย มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2544 นายชวน หลีกภัย มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2545 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
พ.ศ. 2546 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
พ.ศ. 2547 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
พ.ศ. 2548 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
พ.ศ. 2549 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
พ.ศ. 2550 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
พ.ศ. 2551 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ. 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี
พ.ศ. 2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553


บล็อก (blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
เว็บค้นหาบล็อกเทคโนราตี ได้อ้างไว้ว่าปัจจุบันในอินเทอร์เน็ต มีบล็อกมีมากกว่า 94 ล้านบล็อกทั่วโลก [1](ข้อมูล ส.ค. 2550)
 

ความนิยม

บล็อกได้เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันในวงการสื่อมวลชนในหลายประเทศ เนื่องจากระบบแก้ไขที่เรียบง่าย และสามารถตีพิมพ์เรื่องราวได้โดยไม่ต้องใช้ความรู้ในการเขียนเว็บไซต์ โดยนอกเหนือจากที่ผู้เขียนข่าวส่งผลงานให้กับทางสื่อแล้ว ยังได้มาเขียนข่าวในอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล หรือแนวความคิด โดยการเขียนบล็อกสามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนได้รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่าย น้อยกว่า สื่อในด้านอื่น ข่าวที่นิยมในการเขียนบล็อกต่อสื่อมวลชน ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะเรื่องซุบซิบวงการดารา ข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น
จากความนิยมที่มากขึ้น ทำให้หลายเว็บไซต์เปิดให้มีส่วนการใช้งานบล็อกเพิ่มขึ้นมาในเว็บของตนเอง เพื่อเรียกให้มีการเข้าสู่เว็บไซต์มากขึ้นทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน
 

การใช้งานบล็อก

ผู้ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือนการใช้งานและอ่าน เว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที
ผู้เขียนบล็อกในปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก
สำหรับผู้อ่านบล็อกจะใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลง ทะเบียนในบางบล็อก นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรง ผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น

บล็อกซอฟต์แวร์

บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ใน ด้านเอชทีเอ็มแอล หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ บริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน และอาจเพิ่มเติมการมีเทมเพลตในหลายแบบให้เลือกใช้
ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งได้ทันทีโดยผู้ใช้ ซึ่งซอฟต์แวร์บางส่วนเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ซึ่งผู้พัฒนาสามารถนำมาปรับแก้ เป็นของตนเอง ติดตั้งไว้ใช้เป็นบล็อกส่วนตัว หรือเผยแพร่ให้คนอื่นมาใช้งานได้ ส่วนซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์นั้น จะมีทั้งในรูปแบบที่ให้ใช้งานแบบเสียค่าใช้จ่ายหรือให้ใช้งานฟรี

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สุดารัตน์ ไหลเจริญ: ความรูเกี่ยวกับฟิสิกส์ รอบๆตัว

ทำไมยานอวกาศจึงพุ่งสู่ท้องฟ้าได้นะ




ก่อนที่ยานอวกาศจะพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ เชื้อเพลิงที่อยู่ในยานจะต้องถูกเผาไหม้ก่อน แล้วส่งแรงดันที่เกิดจากการขยายตัวของก๊าซร้อนที่พุ่งออกมาจากท่อไอเสียท้ายยาน
เชื้อเพลิงสำหรับยานอวกาศมีทั้งของแข็งและของเหลว แต่ที่แพร่หลายที่สุดคือ เชื้อเพลิงที่เป็นส่วนผสมของออกซิเจนเหลวและไฮโดรเจนเหลว เชื้อเพลิงเหลวทั้งสองชนิดนี้จะถูกเก็บไว้ภายในยาน เมื่อพร้อมเดินทาง เชื้อเพลิงเหลวทั้งสองชนิดจะถูกผสมกันในห้องสันดาป* และเกิดการเผาไหม้ขึ้น
ถ้าน้อง ๆ เคยดูภาพยนตร์เกี่ยวกับการส่งยานอวกาศ น้อง ๆ ก็จะเห็นกลุ่มควันขนาดใหญ่ม้วนตัวอยู่รอบฐานส่งยานอวกาศ กลุ่มควันนี้ล่ะจ๊ะ..คือก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงเหลว ก๊าซนี้ขยายตัวอยู่ภายในห้องสันดาปและพุ่งออกจากตัวจรวดด้วยความเร็วเหนือเสียงทาง ท่อไอเสียท้ายยาน ซึ่งเป็นช่องเปิดเพียงทาง เดียวที่มีอยู่ กำลังของก๊าซที่พุ่งออกมาในทิศทาง เดียวกันจะส่งให้ยานอวกาศเคลื่อนตัวไปในทิศทาง ตรงกันข้าม พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าฉิวเลยล่ะ...
* ห้องสันดาป หมายถึง ห้องเผาไหม


  
 
 
ไก่บินได้ ไกลแค่ไหน

หากใครมาถามเราว่า ไก่บินได้ไกลแค่ไหน ก็คงจะตอบได้อย่างไม่ลังเลเลยว่า อย่างมากก็ไปได้ไม่ไกลเกิน 5 เมตร เพราะทุกครั้งที่มันขยับปีกบิน อย่างไกลที่สุดก็เหมือนกันมันกระโดดจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่ง แม้ปีกของมันจะออกแรงตีพึบพั๊บขนาดไหนก็ตาม
แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ จากสถิติของสมาคมแข่งขันไก่บินนานา ชาตินั้นไม่ได้บอกว่า ไก่บินได้แค่ระยะทางอย่างที่เราคิดเสียแล้ว แต่แชมเปี้ยนที่ทำสถิติสูงสุดเท่าที่มีการบันทึกไว้ระบุว่า ไก่ชื่อ Kung Flewk สามารถบินได้ไกลถึง 297 ฟุต หรือ 90.57 เมตรทีเดียว ไม่ใช่บินใกล้ ๆ อย่างที่นึกเสียแล้ว ไม่เช่นนั้นคงไม่ตั้งสมาคมแข่งขันไก่บินระดับนานาชาติให้เสียชื่อ "ไก่" ใช่ไหม
อ้อ..เกือบลืมบอกไป สถานที่แข่งขันกันครั้งนั้น อยู่ที่ Rio Grande รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1977
ดาวกะพริบแวววาวได้อย่างไร

ดาวกะพริบแวววาวได้อย่างไร ยามค่ำคืน เดือนมืด น้อง ๆ คงมองเห็นดวงดาวส่องแสงระยิบระยับบนท้องฟ้า ส่วนดาวที่กะพริบวิบวับนั้นก็คือ ดาวฤกษ์ ไงล่ะจ๊ะ
ดาวฤกษ์เป็นดาวที่มีแสงในตัวเองและการที่เห็นเป็นแสงกะพริบระยิบระยับนั้นก็เพราะลำแสงจากดวงดาวต้องเดินทาง ผ่านชั้นของบรรยากาศที่ไม่สม่ำเสมอ และเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ทำให้เมื่อเวลาดูดาวบนท้องฟ้าจะเห็นเป็นแสงกะพริบไปมา แสงสว่างของดาวฤกษ์ที่มองจากโลกขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 สิ่ง คือ ปริมาณความร้อน ระยะห่างจากโลก และขนาดของดาวฤกษ์นั่นเอง
ส่วนดาวเคราะห์ จะส่องแสงสว่างสม่ำ เสมอไม่กะพริบ ดาวเคราะห์นั้นใกล้โลกเรามากกว่าดาวฤกษ์ แต่แสงที่ส่องออกมาจากดาวเคราะห์มีหลายลำแสง เมื่อผ่านชั้นบรรยากาศก็เกิดการหักเหของลำแสงแต่ละลำมาตัดกัน ผลรวมของลำแสงที่ส่องมาจึงสม่ำ เสมอกว่าลำแสงของดาวฤกษ์...

ความรูเกี่ยวกับฟิสิกส์ รอบๆตัว

 
ดาวกะพริบแวววาวได้อย่างไร ยามค่ำคืน เดือนมืด น้อง ๆ คงมองเห็นดวงดาวส่องแสงระยิบระยับบนท้องฟ้า ส่วนดาวที่กะพริบวิบวับนั้นก็คือ ดาวฤกษ์ ไงล่ะจ๊ะ



ดาวฤกษ์เป็นดาวที่มีแสงในตัวเองและการที่เห็นเป็นแสงกะพริบระยิบระยับนั้นก็เพราะลำแสงจากดวงดาวต้องเดินทาง ผ่านชั้นของบรรยากาศที่ไม่สม่ำเสมอ และเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ทำให้เมื่อเวลาดูดาวบนท้องฟ้าจะเห็นเป็นแสงกะพริบไปมา แสงสว่างของดาวฤกษ์ที่มองจากโลกขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 สิ่ง คือ ปริมาณความร้อน ระยะห่างจากโลก และขนาดของดาวฤกษ์นั่นเอง
ส่วนดาวเคราะห์ จะส่องแสงสว่างสม่ำ เสมอไม่กะพริบ ดาวเคราะห์นั้นใกล้โลกเรามากกว่าดาวฤกษ์ แต่แสงที่ส่องออกมาจากดาวเคราะห์มีหลายลำแสง เมื่อผ่านชั้นบรรยากาศก็เกิดการหักเหของลำแสงแต่ละลำมาตัดกัน ผลรวมของลำแสงที่ส่องมาจึงสม่ำ เสมอกว่าลำแสงของดาวฤกษ์... 


 

หากใครมาถามเราว่า ไก่บินได้ไกลแค่ไหน ก็คงจะตอบได้อย่างไม่ลังเลเลยว่า อย่างมากก็ไปได้ไม่ไกลเกิน 5 เมตร เพราะทุกครั้งที่มันขยับปีกบิน อย่างไกลที่สุดก็เหมือนกันมันกระโดดจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่ง แม้ปีกของมันจะออกแรงตีพึบพั๊บขนาดไหนก็ตาม
แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ จากสถิติของสมาคมแข่งขันไก่บินนานา ชาตินั้นไม่ได้บอกว่า ไก่บินได้แค่ระยะทางอย่างที่เราคิดเสียแล้ว แต่แชมเปี้ยนที่ทำสถิติสูงสุดเท่าที่มีการบันทึกไว้ระบุว่า ไก่ชื่อ Kung Flewk สามารถบินได้ไกลถึง 297 ฟุต หรือ 90.57 เมตรทีเดียว ไม่ใช่บินใกล้ ๆ อย่างที่นึกเสียแล้ว ไม่เช่นนั้นคงไม่ตั้งสมาคมแข่งขันไก่บินระดับนานาชาติให้เสียชื่อ "ไก่" ใช่ไหม
อ้อ..เกือบลืมบอกไป สถานที่แข่งขันกันครั้งนั้น อยู่ที่ Rio Grande รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1977
 
 
ทำไมยานอวกาศจึงพุ่งสู่ท้องฟ้าได้นะ

ก่อนที่ยานอวกาศจะพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ เชื้อเพลิงที่อยู่ในยานจะต้องถูกเผาไหม้ก่อน แล้วส่งแรงดันที่เกิดจากการขยายตัวของก๊าซร้อนที่พุ่งออกมาจากท่อไอเสียท้ายยาน
เชื้อเพลิงสำหรับยานอวกาศมีทั้งของแข็งและของเหลว แต่ที่แพร่หลายที่สุดคือ เชื้อเพลิงที่เป็นส่วนผสมของออกซิเจนเหลวและไฮโดรเจนเหลว เชื้อเพลิงเหลวทั้งสองชนิดนี้จะถูกเก็บไว้ภายในยาน เมื่อพร้อมเดินทาง เชื้อเพลิงเหลวทั้งสองชนิดจะถูกผสมกันในห้องสันดาป* และเกิดการเผาไหม้ขึ้น
ถ้าน้อง ๆ เคยดูภาพยนตร์เกี่ยวกับการส่งยานอวกาศ น้อง ๆ ก็จะเห็นกลุ่มควันขนาดใหญ่ม้วนตัวอยู่รอบฐานส่งยานอวกาศ กลุ่มควันนี้ล่ะจ๊ะ..คือก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงเหลว ก๊าซนี้ขยายตัวอยู่ภายในห้องสันดาปและพุ่งออกจากตัวจรวดด้วยความเร็วเหนือเสียงทาง ท่อไอเสียท้ายยาน ซึ่งเป็นช่องเปิดเพียงทาง เดียวที่มีอยู่ กำลังของก๊าซที่พุ่งออกมาในทิศทาง เดียวกันจะส่งให้ยานอวกาศเคลื่อนตัวไปในทิศทาง ตรงกันข้าม พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าฉิวเลยล่ะ...
* ห้องสันดาป หมายถึง ห้องเผาไหม้

เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท).